วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

ทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ใครเคยรู้บ้างว่าเด็กเริ่มเรียนรู้ทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ตั้งแต่เกิด?
นักวิทยาศาสตร์เคยศึกษาวิจัยทั้งในสัตว์ทดลองและเด็กวัยทารกเกี่ยวกับเรื่องการรับรู้ด้านจำนวน ด้วยการสังเกตเห็นว่านกจะเลือกจิกกินอาหารจากกองที่มีมากกว่า เด็กทารกสนใจจ้องมองมากขึ้นชัดเจนเมื่อจำนวนจุดขนาดใหญ่ที่รวมกลุ่มอยู่เปลี่ยนไป
นักวิจัยเชื่อว่าการรับรู้และความเข้าใจเรื่องจำนวนของเด็กทารกและสัตว์เป็นสิ่งที่ติดตัวมาเบื้องต้นเพื่อการอยู่รอด และเนื่องจากสมองของมนุษย์ถูกกำหนดมาให้พร้อมต่อจากการเรียนรู้เพิ่มเติม จึงค่อยๆเรียนรู้ทักษะอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากสิ่งต่างๆรอบตัว อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดด้านการแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นด้านการพูดหรือการกระทำ ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงมักไม่สามารถสังเกตเห็นได้ว่าเด็กกำลังเรียนรู้อะไรบ้าง คนส่วนมากเข้าใจว่าเด็กเริ่มเรียนรู้และเข้าใจทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์เฉพาะเมื่อเด็กเริ่มนับ 1 2 3 ได้ ซึ่งทำได้ที่อายุประมาณ 2 ปีเป็นต้นไป
หลักการเรียนรู้ด้านการคำนวณหรือคณิตศาสตร์ในช่วงแรกของชีวิตมีองค์ประกอบต่างๆมากกว่าเพียงการนับ เช่น ขนาด ปริมาณ มิติสัมพันธ์ รูปทรง เป็นต้น ในต่างประเทศมีนักวิจัยจากหลากหลายสาขา ได้แก่ นักจิตวิทยาด้านการศึกษา แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง ให้ความสนใจปัญหาการเรียนของเด็กที่ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านคณิตศาสตร์ได้เหมือนเด็กอื่นๆในวัยเดียวกัน หรือที่เรียกว่าเป็นแอลดีด้านคณิตศาสตร์ แอลดีหมายถึง learning disability (LD) ซึ่งมีทั้งที่บกพร่องด้านการอ่าน การคำนวณ และการเขียน
ข้อค้นพบต่างๆจากงานวิจัยในเด็กกลุ่มดังกล่าวนี้ ร่วมกับการศึกษาความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กปกติ ทำให้ได้ข้อสรุปว่าเด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ในช่วงอนุบาลและวัยประถมศึกษาได้ดีเป็นปกติ ต้องมีทักษะการรับรู้เรื่องจำนวนในช่วงปฐมวัยเป็นพื้นฐานมาก่อน ซึ่งไม่ใช่เพียงการนับเลขได้เก่งเท่านั้น ความสามารถทางภาษาที่พูดได้ จดจำได้ ช่วยให้เด็กจำนวนมากท่องจำการนับ 1 2 3…. ได้โดยง่าย แต่เด็กส่วนหนึ่งไม่เข้าใจว่าที่นับหมายถึงอะไร การสอนให้เด็กจดจำเพียงตัวเลข ก็ไม่สามารถช่วยให้เด็กเข้าใจเรื่องจำนวนอย่างที่ควรเป็น
จึงอาจกล่าวได้ว่ากว่าจะถึงอนุบาล ก็สายเสียแล้ว (ที่จะเรียนเลขได้เข้าใจอย่างแท้จริง)

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

หน่วยข้าว

แผนการสอนที่ 1
เรื่อง ข้าวมหัศจรรย์
ผู้สอน นางสาวพัชนี แบ่งเพชร
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เด็กรู้จักชนิดของข้าว เช่น ข้าวสาร ข้าวเปลือก ข้าวสวย ข้าวเหนียว
2.เพื่อให้เด็กรู้จักลักษณะของข้าว
3.เพื่อให้เด็กรู้จักการนำข้าวมาประกอบอาหาร
4. เพื่อให้เด็กรู้ถึงประโยชน์ของข้าว
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจองข้าว พร้อมทำท่าทางอิสระประกอบคำคล้องจองตามจินตนาการและสนทนาเนื้อหาของคำคล้องจอง
คำคล้องจองข้าว
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ
ขั้นสอน
1.ให้เด็กนับว่าข้าวมีกี่ประเภท แล้วให้เด็กนำตัวเลขมาแทนค่าที่เด็กนับจำนวนถ้วยข้าวได้
2.ให้เด็กนับว่าข้าวมีกี่สี แล้วให้เด็กนำตัวเลขมาแทนค่าที่เด็กนับจำนวนสีของข้าวได้
3.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับข้าวว่ามีรูปทรงเป็นอย่างไร เหมือนกับอะไร ที่เด็กๆรู้จักบ้าง

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับลักษณะเมล็ดข้าว

อุปกรณ์
1.ถ้วย

สื่อ
1.ข้าวเปลือกจ้าว 2.ข้าวเปลือกเหนียว
3.ข้าวสารจ้าว 4.ข้าวสารเหนียว
5.ข้าวสุกจ้าว 7.ข้าวสุกเหนียว
8.ตัวเลข 1-10 9.คำคล้องจอง




แผนการสอนที่ 2
เรื่อง ส่วนประกอบของข้าว
ผู้สอน นางสาวสุนิดา ทิพประมวล
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจองข้าว พร้อมทำท่าทางอิสระประกอบคำคล้องจองตามจินตนาการและสนทนาเนื้อหาของคำคล้องจอง
คำคล้องจองข้าว
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ
ขั้นสอน
1.ครูใช้คำถาม เด็กๆรู้ไหมค่ะว่าข้าวมีส่วนประกอบอะไรบ้าง เช่น เปลือกของข้าว เมล็ดข้าว
2.ครูให้เด็กๆต่อจิกซอที่เป็นส่วนประกอบของข้าว

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับส่วนประกอบของเมล็ดข้าว
อุปกรณ์
1.ถ้วย

สื่อ
1.ข้าวเปลือกจ้าว 2.ข้าวเปลือกเหนียว
3.ข้าวสารจ้าว 4.ข้าวสารเหนียว
5.ข้าวสุกจ้าว 7.ข้าวสุกเหนียว
8.จิกซอ 9.คำคล้องจอง


แผนการสอนที่ 3
เรื่อง ประโยชน์ของข้าว
ผู้สอน นางสาวธารทิพย์ ชิดจังหรีด

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจองข้าว พร้อมทำท่าทางอิสระประกอบคำคล้องจองตามจินตนาการและสนทนาเนื้อหาของคำคล้องจอง
คำคล้องจองข้าว
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ

ขั้นสอน
1.ครูใช้คำถาม เด็กๆรู้ไหมว่าข้าวมีประโยชน์อย่างไร
2.ครูนำภาพที่แปรรูปมาจากข้าวให้เด็กๆดู เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว แป้ง ขนมปัง
3.ครูสนทนากับเด็กๆเกี่ยวกับโทษของข้าว
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับโทษและประโยชน์ของข้าว
อุปกรณ์
1.ถ้วย
สื่อ
1.ข้าวเปลือกจ้าว 2.ข้าวเปลือกเหนียว
3.ข้าวสารจ้าว 4.ข้าวสารเหนียว
5.ข้าวสุกจ้าว 7.ข้าวสุกเหนียว
8.ภาพโปสเตอร์ 9.คำคล้องจอง

แผนการสอนที่ 4
เรื่อง สถานที่
ผู้สอน นางสาววัชรา ทิพเจริญ
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจองข้าว พร้อมทำท่าทางอิสระประกอบคำคล้องจองตามจินตนาการและสนทนาเนื้อหาของคำคล้องจอง


คำคล้องจองข้าว
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ

ขั้นสอน
1.ครูใช้คำถาม เด็กๆเคยเห็นข้าวจากที่ไหนบ้าง เช่น ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า นาข้าว โรงสี ยุ่งข้าว ที่บ้าน
2.ครูนำภาพจิกซอ เช่น ภาพต้นข้าวในนา
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับสถานที่พบข้าว และร่วมกันร้องเพลง
เพลงข้าว
มากินข้าวสิ มากินข้าวสิ
กับดี ดี กับดี ดี
มีทั้งแกงและต้มยำ อ่ำ อ่ำ อั้ม อร่อยดี
อุปกรณ์
1.ถ้วย
สื่อ
1.ข้าวเปลือกจ้าว 2.ข้าวเปลือกเหนียว
3.ข้าวสารจ้าว 4.ข้าวสารเหนียว
5.ข้าวสุกจ้าว 7.ข้าวสุกเหนียว
8.จิกซอ 9.คำคล้องจอง

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552

วันนี้อาจารย์ สอนเกี่ยวกับการวางแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิศาสตร์ ในแต่ละกลุ่มมีกี่คนต้องสอนตามวัน โดยที่
คนที่ 1 สอนเกี่ยวกับลักษณะของหน่วย โดยใช้เกณฑ์อย่างเดียว เช่น สี รูปร่าง ขนาด
โดยมีการการใช้คำถาม เช่น เด็กๆดูชิคะว่ามีลักษณะเป็นยังไงบ้างคะ
คนที่ 2 สอนเกี่ยวกับส่วนประกอบของหน่วยที่ทำ โดยเราอาจมีการทบทวนความรู้เดิมต่อเนื่องจากที่เราสอนเมื่อวาน อาจจะใช้เพลง นิทาน คำคล้องจอง หรืออาจจะใช้คำถามเช่น เมื่อวานนี้เราเรียนเกี่ยวกับอะไรเด็กๆจำได้หรือเปล่ามีอะไรบ้างคะ
คนที่ 3 สอนเกี่ยวกับประโยชน์ของหน่วยที่ทำ ว่ามีประโยชน์ยังไงบ้าง อาจจะมีการเล่าเป็นนิทานที่พูดถึงประโยชน์ หรืออาจจะนำภาพมาไห้ดูเกี่ยวกับหน่วยที่เราทำ

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดี ที่18 ธันวาคม 2551

สิ่งที่เรียนวันนี้ หลักการสอนคณิตศาสตร์
1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณืที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง
3.มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอด
5.ใข้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ของเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6.ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7.รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8.ใช้วิธีสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9.ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฎิบัติการจริงๆเกี่ยวกับตัวเลข
10.วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทันทีที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11.บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ใขปรับปรุง
12.คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13.เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก
14.ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวยลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งนั้นแล้ว
การเตรียมพร้อมให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์นั้นจะต้องฝึกให้เด็กได้มีพัฒนาการทางสายตาก่อนเป็นอันดับแรก
ถ้าหากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนกจัดแบ่งประเภทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้กับ
คณิตศาสตร์ได้

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551

ความรู้ที่ได้รับวันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับ
มาตรฐานการวัดในระบบเมตรืก
1.ศัพท์ที่เด็กควรทราบ
2.ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
3.การวัดเรื่องสัปดาห์ เช่น สัปดาห์หนึ่งมีกี่วัน
ลักษณะของหลักสูตรที่ดี
มีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
1.เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวบยอด
2.เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ
3.แนะนำคำศัพท์ไหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
4.ส่งเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
5.ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
6.เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทัษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
7.เปิดให้เด็กค้นคว้าสำรวจปฎิบัติรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การจัดกิจกรรมเสริมทักษะพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อจัดกิจกรรมพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมเสริมทักษะ (2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลการพัฒนาความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังใช้แผน การจัดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 จำนวน 30 คน โรงเรียนอนุบาลบ้านนา (วัดช้าง) อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก (2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดกิจกรรมเสริมทักษะ แบบทดสอบวัดพัฒนาการความพร้อมทาง คณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน การวิจัยครั้งนี้ปรากฏว่า แผนการจัดกิจกรรมเสริมทักษะพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถนำไปใช้จัดประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ มีผลการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

บทบาทของพ่อแม่เกี่ยวกับกระบวนการเรีนยรู้คณิตศาสตร์ของลูก

บทบาทของพ่อแม่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูก

- การเรียนรู้ของเด็กจะเริ่มในทันทีที่เด็กเกิด มิได้เริ่มเรียนรู้เมื่อไปโรงเรียน กระบวนการเรียนรู้เป็นกระบวนการต่อเนื่อง เริ่มที่บ้าน เรียนรู้จากประสบการณ์ จากการพูดคุยกับพ่อ แม่ พี่ น้อง จากเพื่อน และจากบุคคลอื่นรอบ ๆ ตัว พ่อแม่มีพิทธิพลต่อพัฒนาการทางการเรียนรู้ของลูกเป็นอย่างมาก เจตคติและความสนใจของพ่อแม่จะมีอิทธิพลต่อเจตคติและความสนใจต่อการเรียนรู้ของลูกด้วย
"ศิษย์เก่งเลขครูรักเป็นนักหนา" คำโบราณนี้ยังเป็นจริงอยู่ จะเห็นได้จากในปัจจุบันโรงเรียนขาดครูคณิตศาสตร์ หาครูคณิตศาสตร์ได้ยาก ในระดับอุดมศึกษา นักศึกษาเลือกเรียนคณิตศาสตร์เป็นวิชาเอกจำนวนน้อยลง จนต้องมีโครงการให้ทุนเรียนก็ยังมีผู้สมัครรับทุนไม่ครบจำนวน เพราะเรียนยาก แล้วเราจะพัฒนาประเทศได้อย่างไร ในเมื่อเทคโนโลยีทั้งหลายต้องใช้คณิตศาสตร์เป็นพื้นฐาน
- ในฐานะพ่อแม่ ท่านมีโอกาสอย่างมากที่จะช่วยพัฒนา บ่มเพาะทักษะทางคณิตศาสตร์ให้แก้ลูกตั้งแต่เขายังไม่เข้าโรงเรียน
- สิ่งง่าย ๆ ที่ท่านควรจะเริ่มต้นฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ให้แก่ลูก คือการคาดคะเน หรือการเดาอย่างมีเหตุผล หรือภาษาทางคณิตศาสตร์เรียกว่าการประมาณค่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าในการไปจับจ่ายซื้อของ การเดินทางการหุงหาอาหาร ทำความสะอาดบ้าน การกินอยู่หลับนอน การประกอบอาชีพ ฯลฯ เรียกได้ว่าการประมาณค่าจะมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องในทุกอย่างก้าวของชีวิต ในฐานะผู้ใหญ่เราอาจใช้การประมาณค่าสูงถึง 80 % แทนการคิดคำนวนที่ต้องคิดอย่างถูกต้องด้วยวิธีคำนวนหรือด้วยเครื่องคิดเลข
- เมื่อการประมาณค่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตท่านจะช่วยลูกหลานของท่านให้มีทักษะด้านนี้ได้อย่างไรแม้ว่าโรงเรียนจะสอนเรื่องการประมาณค่า แต่ท่านสามารถเริ่มต้นได้ที่บ้านก่อนลูกเข้าโรงเรียน เมื่อใดก็ตามที่สถานการณ์อำนวยท่านสามารถเริ่มได้ทันที เช่นที่โต๊ะอาหาร มีทอดมันในจาน 8 ชิ้นพ่อแม่ ลูกอีก2 คน จะได้รับประทานคนละกี่ชิ้น หรือไปซื้อของที่ตลาดสด หรือติดแอร์ก็ตาม มีเงินไป 200 บาท เมื่อดูราคาของแล้วจะได้อะไรมาบ้างจึงจะพอดีกับเงินหรือไปรับประทานอาหารนอกบ้านมีเงินไป 500 บาท ดูรายการอาหารแล้วจะสั่งอะไรได้บ้าง เป็นต้น ได้มีการศึกษาค้นคว้าหลายเรื่อง เกี่ยวกับเรื่องเด็กและการประมาณค่า พอสรุปได้ดังนี้
ถ้าไม่มีการสอนและฝึกอบรมในเรื่องนี้ เมื่อถูกกำหนดให้ทำการประมาณค่าเด็กจะทำไม่ได้หรือได้ไม่ดี
ในชีวิตประจำวัน จะต้องกระตุ้นเด็กอยู่เสมอให้เห็นประโยชน์ของการประมาณค่า
การสอนและฝึกปฏิบัติอยู่เป็นประจำ เด็กจะสามารถประมาณได้อย่างรวดเร็ว
เด็กจะสนุกกับการประมาณค่า เมื่อเขาตระหนักถึงความสำคัญและได้เรียนรู้เทคนิดของการประมาณค่า
- ในห้องเรียนนั้นเวลาส่วนใหญ่จะใช่ไปในการคำนวนคำตอบที่ถูกต้อง ไม่มีการคำนวนคำตอบที่ใกล้เคียง ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่พ่อแม่มีส่วนช่วยเติมเต็มได้ ในชีวิตจริงเราใช้การประมาณค่ามากกว่าการหาค่าที่ถูกต้องดังกล่าวแล้วข้างต้น พ่อแม่จึงควรเสริมแรงด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดา การคาดคะเนอย่างสมเหตุควบคู่ไปกับการคำนวณคำตอบที่ถูกต้อง
- ก่อนที่เด็กจะนับเป็น เขาสามารถที่จะคาดคะเนหรือประมาณค่าได้แล้วจากการเล่น เช่น การตักทรายใส่กระป๋อง หรือการกระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง การหยิบดินสอนสีใส่กล่อง เป็นต้น เมื่อเขาเติบโตขึ้นเขาก็จะสามารถประมาณค่าจำนวนของสิ่งต่าง ๆ ในโลกได้อย่างใกล้เคียง พ่อแม่สามารถช่วยลูกให้เป็นนักประมาณค่าที่ดีโดยใช้ประสบการณ์การประมาณค่าของท่านเองคุยกับลูก เช่น ขณะที่ไปซื้อของหรือดูโฆษณาราคาของในหนังสือพิมพ์ว่าของสิ่งใดแพงหรือถูกกว่ากันเท่าไร ควรซื้ออย่างไหน เพราะอะไร หรือดูประกาศรับสมัครพนักงานว่าได้ค่าจ้างต่อเดือนเท่าไร ประมาณค่าดูว่าปี หนึ่งนายจ้างจะต้องเสียค่าจ้างเท่าไร เป็นต้น
การได้เรียนรู้เทคนิคการประมาณค่า จะยังประโยชน์หลายสถานแก่เด็กของท่านดังนี้
เนื่องจากมีการใช้เครื่องคิดเลขอย่างแพร่หลายในปัจจุบันทักษะการประมาณค่ายิ่งมีความสำคัญ มากขึ้นการประมาณค่าจะช่วยให้เด็กตระหนักถึงคำตอบที่ผิดพลาดที่ปรากฏบนเครื่องคิดเลขได้ ความตระหนักในการประมาณค่าที่เด็กใช้อยู่บ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันจะช่วยให้เด็กเห็นประโยชน์ ของวิชาคณิตศาสตร์ ทักษะในการประมาณค่าจะช่วยทักษะในการคิดคำนวณให้ดีขึ้น โดยช่วยเด็กให้ประมาณค่าคำ ตอบได้อย่างมีเหตุผล กระบวนการประมาณค่าเกี่ยวข้องกับเทคนิคการแห้ปัญหาอย่างใกล้ชิด ขณะที่เด็กมีทักษะในการ ประมาณค่าสูงขึ้น เด็กจะพัฒนาในด้านกระบวนการคิดด้วย เมื่อเด็กรู้สึกคล่องกับกระบวนการ แล้วเด็กจะชอบประมาณค่า หน้าที่ของพ่อแม่คือช่วยให้เขาได้ พัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
- ถ้าท่านต้องการจะช่วยให้เด็กของท่านพัฒนาทักษะด้านการประมาณ ท่านควรปฏิบัติดังนี้
- ฉวยโอกาสประมาณค่าในทุก ๆ กรณีแล้วแลกเปลี่ยนประสบการณ์และกระบวนการคิดกับเด็กของท่านเด็กของท่านก็จะได้ประโยชน์จากการถกเถียงปัญหาเกี่ยวกับวิธีการที่เขาได้ประมาณค่านั้น ท่านต้องเปิดใจและพร้อมที่ถกเถียงปัญหากับเขา ตัวท่านเองอาจจะได้เทคนิคใหม่ ๆ เกี่ยวกับการประมาณค่าเพิ่มขึ้นอีกก็ได้
ที่มา : ทัศนีย์ สงวนสัตย์, วารสาร สสวท. ปีที่ 25 ฉ. 96 มกราคม - มีนาคม 2540